หน้าหลัก ---> กระดาน ประวัติพระเกจิ ---> พระพุทธมหาธรรมราชา

Total 2 Record : 1 Page : 1

ช้าง พระพุทธมหาธรรมราชา

ส่งข้อความ



พระพุทธมหาธรรมราชา




"พระพุทธมหาธรรมราชา เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิสมัยลพบุรี หล่อด้วยทองสำริด หน้าตักกว้าง 13 นิ้ว สูง 18 นิ้ว ประดิษฐานที่วัดไตรภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7กษัตริย์แห่งนครธม เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 7ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางสิงขรมหาเทวี พระธิดาของพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด (ปัจจุบันคือ อำเภอหล่มสักจังหวัดเพชรบูรณ์)



"เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์ เคียงคู่กับหลวงพ่อเพชรมีชัย พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาธาตุ พระอารามหลวง จ.เพชรบูรณ์

พระพุทธมหาธรรมราชา เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะลพบุรีทรงเครื่อง สร้างด้วยเนื้อทองสำริด หน้าตักกว้าง 13 นิ้ว สูง 18 นิ้ว ไม่มีฐาน

มีพุทธลักษณะ พระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ พระกรรณยาวย้อยจรดพระอังสะ พระเศียรทรงชฎาเทริด หรือมีกะบังหน้า ทรงสร้อยพระศอพาหุรัด ทรงประคดเป็นลายสวยงาม

สาเหตุที่พระพุทธรูปองค์นี้ มีนามว่า พระพุทธมหาธรรมราชา เนื่องจากพระวรกายสวมใส่เครื่องประดับของกษัตริย์นักรบสมัยโบราณ ชาวบ้านจึงพากันเรียกขานว่า "พระพุทธมหาธรรมราชา"

สันนิษฐานว่า พระพุทธมหาธรรมราชา สร้างในราวปี พ.ศ.1600 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 กษัตริย์แห่งอาณาจักรขอม ในระหว่างที่สร้างนั้นก็ได้นิมนต์พระภิกษุที่เป็นพระเกจิอาจารย์มาปลุกเสกด้วย และยังมีเรื่องเล่ากันว่าพระเกจิอาจารย์บางรูปสามารถรู้ภาษาสัตว์ได้ หลังจากสร้างเสร็จแล้วก็มีการฉลองสมโภช 9 คืน 9 วัน

ครั้นเมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ครองราชสมบัติต่อจากกษัตริย์องค์ก่อน ก็ได้พระราชทานพระพุทธมหาธรรมราชาให้กับพ่อขุนผาเมือง เพื่อเป็นการเจริญสัมพันธไมตรี นอกจากนี้ ยังได้มอบพระราชธิดา พระนามว่า นางสุขรมหาเทวี และพระราชโอรสพระนามว่า กมรเตงอัญศรีทราทิตย์ หรือ ศรีอินทราทิตย์ ต่อมาพ่อขุนผาเมืองกับพ่อขุนบางกลางหาว ได้กอบกู้กรุงสุโขทัยคืนจากขอมสมาดโขลญได้แล้วพ่อขุนผาเมือง จึงได้สถาปนาให้พ่อขุนบางกลางหาว เป็นกษัตริย์ปกครองกรุงสุโขทัย




ทำให้นางสุขรมหาเทวีไม่พอพระทัย จึงได้โยนพระพุทธมหาธรรมราชา ลงแม่น้ำป่าสัก และพระนางก็ได้กระโดดน้ำตาย เวลาผ่านไป ได้มีชาวประมงได้ไปหาปลาเวียงแห แต่แล้วก็ได้พระพุทธมหาธรรมราชา สถานที่พบนั้น คือ วัดโบสถ์ชนะมาร (ซึ่งวัดโบสถ์ชนะมารในสมัยนั้นยังไม่ได้สร้าง) ซึ่งอยู่ในเขต อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ชาวบ้านเห็นเป็นที่อัศจรรย์ คิดว่าพระพุทธรูปองค์นี้ คงเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ จึงช่วยกันนำขึ้นมาจากแม่น้ำป่าสัก หลังจากนั้น ได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่วัดไตรภูมิ พอถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งตรงกับวันสารทไทย ปรากฏว่า พระพุทธมหาธรรมราชา ได้หายไปจากวัดไตรภูมิ

ทำให้เจ้าอาวาส พระลูกวัด และชาวบ้านต่างพากันค้นหา ในที่สุดก็พบ พระพุทธมหาธรรมราชา ดำผุดดำว่ายอยู่บริเวณที่พบครั้งแรก จากนั้นเป็นต้นมา เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 จึงมีการแห่พระพุทธมหาธรรมราชาไปรอบเมือง จนถึงบริเวณหน้าวัดไตรภูมิ จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นตัวแทนของชาวเพชรบูรณ์ จะเป็นผู้อุ้มพระพุทธมหาธรรมราชา ลงดำน้ำทั้ง 4 ทิศ ซึ่งถือว่าเป็นสิริมงคลแก่จังหวัด จนกลายเป็นประเพณีอุ้มพระดำน้ำของจังหวัดเพชรบูรณ์ จนถึงทุกวันนี้

ชาวเมืองเพชรบูรณ์ มีความเชื่อว่า ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ จะทำให้ข้าวกล้าในท้องนา พืชผลทางการเกษตร เจริญงอกงาม ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล จนกลายเป็นประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์

ความเชื่อในการอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาดำน้ำ ผู้ที่อัญเชิญจะต้องเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้น ทั้งนี้ ด้วยตำแหน่งดังกล่าว เทียบได้กับเจ้าเมืองในสมัยโบราณ ซึ่งเป็นใหญ่ที่สุดในเมือง ความเสียสละของผู้เป็นใหญ่ ในนครที่มีความห่วงใยในทุกข์สุขของราษฎรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ทะนุบำรุงพุทธ ศาสนาให้มั่นคงสืบไป พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ จะให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าเมืองอัญเชิญไปดำน้ำแทนไม่ได้ หากปีใดไม่มีการอัญเชิญพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวไปดำน้ำ ชาวเพชรบูรณ์ เชื่อกันว่าปีนั้นบ้านเมืองจะเกิดความแห้งแล้ง ข้าวยากหมากแพง และพระพุทธรูปองค์นี้จะหายไปด้วย

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ยังสะท้อนให้เห็นความร่วมมือเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชาวเพชรบูรณ์ ที่ต้องการสืบทอดและรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันนี้ไว้ อย่างทรงคุณค่าตลอดกาลนาน

ปัจจุบัน พระพุทธมหาธรรมราชา วัดไตรภูมิ ประดิษฐานในมณฑปวัดไตรภูมิ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ เฉพาะในช่วงเทศกาลสารทไทยของทุกปี ที่จะถูกอัญเชิญไปประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำ





พระพุทธมหาธรรมราชา



โดย  ช้าง วันที่ 2011-02-15 08:39:43 
 
1.  

ส่งข้อความ

                                              
     



""***ความเชื่อและวิธีการบูชา***


พระพุทธมหาธรรมราชาเป็นที่เคารพบูชาของชาวเพชรบูรณ์ และพากันมาขอพรเพื่อรักษาโรคภัย และขอให้พืชพันธุ์ธัญญาหารสมบูรณ์ รวมทั้งความร่มเย็นเป็นสุข แคล้วคลาดจากอุปสรรคทั้งปวง ในประเพณีของการอุ้มพระดำน้ำ มีความเชื่อกันว่าหากได้อัญเชิญองค์พระพุทธมหาธรรมราชาไปกระทำพิธีอุ้มพระดำน้ำแล้ว บ้านเมืองจะมีความอุดมสมบูรณ์ ประชาชนชาวเมืองจะมีแต่ความผาสุกสืบไป แต่ถ้าปีใดไม่ได้ทำพิธีก็จะเกิดความแห้งแล้ง ข้าวยากหมากแพง โรคภัยไข้เจ็บ และพระพุทธรูปองค์นี้จะหายไป ดังนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดจะเป็นตัวแทนชาวเพชรบูรณ์ ในการประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำ และในพิธีดังกล่าวนั้นชาวบ้านจะโปรยดอกไม้และเครื่องหอมลงในแม่น้ำป่าสักเพื่อเป็นเครื่องสักการะ และจะพากันตักน้ำในแม่น้ำที่ไหลผ่านองค์พระ มาตักอาบชำระร่างกาย ลูบไล้ศีรษะเนื้อตัว และนำไปประพรมบ้านเรือนเพื่อเป็นสิริมงคลอีกด้วย

***คาถาบูชาพระพุทธมหาธรรมราชา***

(ท่องนะโม 3 จบ) พุทธมะหาธัมมะราชา วะชิระปูระณะมะหิทธิกา สัพเพ เต อะนุรักขันตุ อะโรคะเยนะ สุเขนะจะ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทาฯ

 

***วัดไตรภูมิ เพชรบูรณ์***


วัดไตรภูมิเป็นวัดเก่าแก่ที่มีความเป็นมาหลายร้อยปี วัดแห่งนี้คงความสำคัญในฐานะเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธมหาธรรมราชา พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์ พระพุทธมหาธรรมราชานั้นเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีพระพักตร์รูปเหลี่ยม ทรงเทริดหรือชฏา มีสร้อยพระศอ ข้อพระกร และข้อพระบาทดูงามยิ่ง โดยสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์แห่งนครธม ได้พระราชทานพระพุทธมหาธรรมราชาแก่พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด (อ.หล่มสักในปัจจุบัน) ในครั้งที่อภิเษกสมรสกับพระนางสิขรมหาเทวี พระธิดาของพระองค์ เพื่อประดิษฐานเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง อันเป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองเพชรบูรณ์ทั่วไป



ครั้งเมื่อพ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางท่าวเจ้าเมืองบางยางได้ร่วมกันกอบกู้อิสรภาพให้แก่คนไทยนั้นได้สร้างความแค้นเคืองให้กับพระนางสิงขรมหาเทวีมาก นางจึงเผาเมืองราดจนย่อยยับอับปางลง บรรดาเสนาอำมาตย์จึงอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาหลบหนีไฟ โดยล่องแพมาตามแม่น้ำป่าสัก แต่เนื่องจากความคดเคี้ยวของแม่น้ำและกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวทำให้แพนั้นแตกลง องค์พระพุทธมหาธรรมราชาจึงจมหายไปในแม่น้ำจนกระทั่งชาวประมงมาพบเข้าอีกครั้งในแม่น้ำป่าสัก จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดไตรภูมิแห่งนี้



ต่อมาพระพุทธมหาธรรมราชานี้ได้หายไป และมีผู้พบอยู่ในแม่น้ำตรงบริเวณที่พบครั้งแรก อันเป็นที่อัศจรรย์ใจของชาวเพชรบูรณ์อย่างมากจึงได้มีการอัญเชิญกลับไปไว้ที่วัดไตรภูมิอีกครั้ง จึงเป็นที่มาของประเพณีอุ้มพระดำน้ำของจังหวัดเพชรบูรณ์สืบมา




 






โดย  ช้าง วันที่ 2011-02-17 12:21:28 
 
2.  

ส่งข้อความ




http://www.gotoknow.org/blogs/posts/134228






โดย  Admin วันที่ 2012-07-04 13:05:16 
 

Total 2 Record : 1 Page : 1