หน้าหลัก ---> กระดาน โชว์พระเครื่อง ---> เหรียญลายเถาวัลย์(เหรียญแมงกะบี้) หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ พ.ศ.๒๔๗0

Total 4 Record : 1 Page : 1

chusak เหรียญลายเถาวัลย์(เหรียญแมงกะบี้) หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ พ.ศ.๒๔๗0

ส่งข้อความ
 
 
 เหรียญลายเถาวัลย์(เหรียญแมงกะบี้) หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ พ.ศ.๒๔๗0
     หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์ ชาวบ้านยกย่องท่านเป็นเทพเจ้าแห่งเมืองนครสวรรค์ เนื่องเพราะท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีเมตตาคุณกับชาวบ้าน และเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของประชาชนโดยทั่วไป ไม่ว่าเศรษฐีผู้ดีไพร่ แม้ขุนน้ำขุนนางก็ล้วนเคารพนับถือท่าน ด้วยบารมีศีลจารวัตรและความเข้มขลังแห่งพุทธาคมของท่านเป็นที่เลื่องลือ  หลวงพ่อเดิมท่านเป็นศิษย์ของสุดยอดเกจิอาจารย์แห่งนครสวรรค์หลายรูป เช่น หลวงพ่อแก้ว วัดอินทาราม หลวงพ่อเงิน วัดพระปรางค์เหลือง หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล เป็นต้น หลวงพ่อเดิมท่านไม่เคยคิดถึงยศถาบรรดาศักดิ์แต่อย่างไร ท่านถือว่าลาภยศสรรเสริญล้วนเป็นโลกธรรมแปด ซึ่งเปลี่ยน แปลงเกิดดับอยู่ตลอดเวลา มิอาจจะบังคับได้เว้นแต่จะไม่หวั่นไหวในโลกธรรมแปดเท่านั้น 

 
หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร สิริอายุได้ ๘๒ ปี พรรษา ๖๐

ภาพนี้ถ่ายเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๒

<<< ประวัติพระครูนิวาสธรรมขันธ์​ (หลวงพ่อเดิม) >>>

        ชาติภูมิ​ ​หลวงพ่อเดิมถือกำ​เนิดเมื่อวันพุธ​ ​แรม​ ๑๓ ​ค่ำ​ ​เดือน​ ๓ ​ปีวอก​ ​จุลศักราช​๑๒๒๒ (แรม​ ๑๓ ​ค่ำ​ ​นั่นมิ​ใช่​วันพุธ​ ​เป็น​วันศุกร์ตรง​กับ​วันที่​ ๘​กุมภาพันธ์​ ​พ​.​ศ​. ๒๔๐๓ ​โยมบิดาชื่อ​ ​นายเนียม​ โยมมารดาชื่อ​ ​นางภู่​ ​มีพี่น้องร่วมบิดา​ ​มารดา​ ​คือ ๑. ​หลวงพ่อเดิม​ ​เพราะ​เหตุที่​เป็น​บุตรชายคนแรกของบิดามารดา​ ​ปู่ย่าตายาย​จึง​ให้​ชื่อว่า​ เดิม ๒. ​นางทองคำ​ ​คงหาญ ๓. ​นางพู​ ​ทองหนุน ๔.​นายดวน​ ​ภู่มณี ๕. ​นางพัน​ ​จันทร์​เจริญ ๖. ​นางเปรื่อง​ ​หมื่นนรา​เดชจั่น

หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล

        ต่อมา​เมื่อวันอาทิตย์​ ​แรม​๑๓ ​ค่ำ​ ​เดือน​ ๑๑ ​ปีมะ​โรง​ ​โทศก​ ​ตรง​กับ​วันที่​ ๓๑ ​ตุลาคม​ ​พ​.​ศ​.๒๔๒๓ ​โยม​ผู้​ชายของหลวงพ่อ​ได้​พา​ไปอุปสมบท​เป็น​พระภิกษุภาวะ​ ​ณ​ ​พัทธสีมาวัด​เขา​แก้ว​ ​อำ​เภอพยุหะดีรี​ ​จังหวัดนครสวรรค์​โดย​มีหลวงพ่อแก้ววัดอินทาราม​ (วัด​ใน)​ ​เป็น​พระอุปัชฌายะ​ ​และ​หลวงพ่อเงิน​ (พระครูพยุหานุศาสก์) ​วัดพระปรางค์​เหลือง​ ตำ​บลท่าน้ำ​อ้อย​ ​กับ​หลวงพ่อเทศ​ ​วัดสระทะ​เล​ ​ตำ​บลสระทะ​เล​ ​เป็น​คู่สวด​ ​เมื่ออุปสมบท​ ​พระอุปัชฌาย์​ให้​นามฉายาว่า​ พุทฺธสโรหลวงพ่อเดิมท่านมีนิสัยสันโดษ​ ​จนบางคราวเห็น​ได้​ว่ามักน้อย​ ​และ​มี​ความ​พากเพียรพยายาม​ ​สบง​และ​จีวรที่นุ่งห่มก็นิยม​ใช้​ของเก่า​ ​จะ​ได้​เห็นหลวงพ่อนุ่งห่มสบงจีวร​ใหม่​ ​ก็ต่อเมื่อมี​ผู้​ศรัทธาถวาย​ให้​ครอง​ใน​กิจนิมนต์​ ​หลวงพ่อ​จึง​ครองฉลองศรัทธา​ ​ถ้า​เป็น​ไตรจีวรแพร​ ​ครอง​แล้ว​กลับมา​จาก​ที่นิมนต์ก็มอบ​ให้​พระภิกษุรูป​อื่น​ไป​ ​ข้าวของที่มี​ผู้​ถวาย​ ​ถ้า​มีประ​โยชน์​แก่พระภิกษุรูป​อื่นๆ​ ​หลวงพ่อก็​ให้​ต่อไป​ ของสิ่ง​ใด​ที่มี​ผู้​ถวาย​ไว้​ ​ถ้า​มี​ใครอยาก​ได้​แล้ว​ออกปากขอ​ ​หลวงพ่อก็​ให้​ ​แต่​เมื่อหลวงพ่อบอก​ให้​แล้ว​ ​ผู้​ขอ​ต้อง​เอา​ไปเลยที​เดียว​ ​ถ้า​ยัง​ไม่​เอา​ไป​และ​ทิ้ง​ไว้​ ​หรือ​ฝาก​ไว้​กับ​หลวงพ่อ​ ​เมื่อมี​ใครมา​เห็น​ ใน​ภายหลัง​และ​ออกปากขออีก​ ​หลวงพ่อก็​ให้​อีก​ ​เมื่อ​ผู้​ขอภายหลังเอา​ไป​แล้ว​ผู้​ขอก่อนมาต่อว่าว่า​ให้​ผม​แล้ว​เหตุ​ใด​จึง​ให้​คน​อื่น​ไปเสียอีก​ ​หลวงพ่อ​จะ​ตอบว่า​ ​ก็​ไม่​เห็นเอา​ไป​ ​นึกว่า​ไม่​อยาก​ได้​ ​จึง​ให้​คนที่​เขา​อยาก​ได้ หลวงพ่อ​เป็น​เสมือนต้นโพธิ์​และ​ต้นไทรที่มีกิ่งก้านสาขา​แผ่ออกไปอย่างไพศาล​เป็น​ที่พึ่งพาอาศัยของประชาชน​ไม่​เลือกหน้า​ ​เนื่อง​จาก​หลวงพ่อมีอายุยืนยาวมาก​ ​บรรดาศิษยานุศิษย์รุ่น​ผู้​ใหญ่​ซึ่ง​เคยติดสอยห้อยตาม​และ​ร่วมงานร่วมการ​กัน​มา​ ​ก็ล้มหายตาย​จาก​ไปก่อนหลวงพ่อเกือบหมด​ถ้า​ว่า​กัน​อย่างฆราวาส​ ​ก็น่า​จะ​ทำ​ให้​หลวงพ่อว้า​เหว่มาก​ ครั้นต่อมาราว​ ๑๐ ​กว่าปี​ ​ก่อนหลวงพ่อมรณภาพ​ ​ร่างกายของหลวงพ่อ​ ​ซึ่ง​ใช้​กรากกรำ​ทำ​สาธารณประ​โยชน์มาช้านานหลายสิบปี​ ​ก็ทรุดโทรมจนแข้งขา​เดิน​ไม่​ได้​ ​จะ​ลุกนั่งก็​ต้อง​มีคนพยุง​ ​จะ​เดินทางไปไหนก็​ต้อง​ขึ้นคานหาม​ ​หรือ​ขึ้นเกวียนไป​ แม้กระ​นั้น​ ​ก็​ยัง​มี​ผู้​เลื่อมใสศรัทธามานิมนต์หลวงพ่อไป​ใน​งานการบุญกุศลเนื่อง​ ​ๆ​ ​เพราะ​หลวงพ่อมีศิษยานุศิษย์มาก​ ​ทั้ง​ผู้​ใหญ่​ผู้​น้อยแทบ​ทั่ว​บ้าน​ทั่ว​เมือง​ ​หลวงพ่อปรารภว่า​ถ้า​ท่านแตกดับลง​ ​บรรดาหลานเหลน​และ​ศิษยานุศิษย์​ใน​ตำ​บลหนองโพ​และ​หมู่บ้าน​ใกล้​เคียง​ ​จะ​ได้​รับ​ความ​ลำ​บาก​ ​หลวงพ่อ​จึง​ได้​ปรารภ​ถึง​ความ​ตาย​ให้​เห็นประจักษ์​ ​สิ่ง​ใด​ควรจัดทำ​ขึ้น​ไว้​ได้​ก่อนท่านแตกดับ​ ​หลวงพ่อก็​ให้​จัดทำ​เตรียม​ไว้​ ​เช่น​ ​สร้างบรรจุศพของท่านเอง​และ​ให้​ก่อสร้างตัวเมรุที่​เผาศพของท่าน​ไว้​ด้วย​ ​แต่บังเอิญตัวเมรุ​นั้น​ทำ​ล่าช้ามาก​ ​ยัง​มิทันเสร็จ​ ​จนหลวงพ่อมรณภาพ​แล้ว​ แม้​แข้งขาของหลวงพ่อ​จะ​ทานน้ำ​หนักตัวของท่านเอง​ไม่​ได้​แล้ว​ ​หูก็ตึงไปบ้าง​ ​แต่นัยน์ตา​ยัง​แจ่มใสดี​ ​มือก็​ยัง​ลงเลขยันต์​ได้​ตามเคย​ ​ปากก็​ยัง​เสกเป่า​และ​เจรจาปราศรัย​ได้​ ​โดย​มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดีตลอดมา



หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร ในอิริยาบทสบายๆ
ภาพนี้ถ่าย ณ วัดหนองโพ ในช่วงพรรษาท้ายๆ ของท่าน

     ภายหลังที่หลวงพ่อกลับ​จาก​ไป​เป็น​ประธาน​ใน​งานก่อสร้างโบสถ์​ใน​วัดอินทาราม​ (วัด​ใน)​ ​ตำ​บลพยุหะ​ ​อำ​เภอพยุหะดีรี​ ​จังหวัดนครสวรรค์​ ​และ​กลับมา​อยู่​ใน​วัดหนองโพ​แล้ว​ ​ต่อมาหลวงพ่อก็​เริ่มอาพาธ​ ​ตั้งแต่วันอังคาร​ ​ขึ้น​ ๑๐ ​ค่ำ​ ​เดือน​ ๖ (ตรง​กับ​วันที่​ ๑๕ ​พฤษภาคม)​พ​.​ศ​. ๒๔๙๔ ​อาการทรุดลง​เป็น​ลำ​ดับมา​ ​จน​ถึง​วันอังคาร​ ​แรม​ ๒ ​ค่ำ​ ​เดือนเดียว​กัน​ ​วันที่​ ๒๒ ​พฤษภาคม) ​อาการก็​เพียบหนักขึ้น​ ​บรรดาศิษยานุศิษย์​และ​หลานเหลนต่างพา​กัน​มาห้อมล้อมพยาบาล​และ​ฟังอาการ​กัน​เนื่อง​แน่น​ ​ด้วย​ความ​เศร้า​โศกห่วงใย​เล่ากันว่าครั้นตกบ่าย​ใน​วัน​นั้น​ ​หลวงพ่อก็คอยแต่สอบถาม​อยู่​วา​ เวลา​เท่า​ใด​แล้ว​ ๆ​ศิษย์​ผู้​พยาบาลก็กราบเรียนตอบไปๆ​ ​จน​ถึง​ราว​ ๑๗.๐๐ ​น​. ​หลวงพ่อ​จึง​ถามว่า​ น้ำ​ใน​สระมีพอกิน​กัน​หรือ’​(​เพราะ​บ้านหนองโพมัก​กัน​ดารน้ำ​ดังกล่าว​แล้ว)​ ​ศิษย์ที่พยาบาล​อยู่​ ​ก็​เรียนตอบว่า​ ถ้า​ฝน​ไม่​ตกภาย​ใน​๖ ๗ ​วันนี้​ ​ก็น่ากลัว​จะ​ถึง​กับ​อัตคัดน้หลวงพ่อก็นิ่งสงบ​ไม่​ถามว่ากระ​ไรต่อไปอีก​ ​ใน​ทัน​ใด​นั้น​กลุ่มเมฆก็ตั้งเค้ามา​และ​ฟ้าคะนอง​ ​มิช้าฝนก็ตกห่า​ใหญ่​ ​น้ำ​ฝนไหลลงสระราวครึ่งค่อนสระ​ ​พอฝนขาดเม็ด​ ​หลวงพ่อก็สิ้นลมหายใจ​ ​เมื่อเวลา​ ๑๗.๔๕ ​น​. ​คำ​นวณอายุได้​ ๙๒ ​โดย​ปี​ ​สรุปรวมตั้งแต่อุปสมบทมา​ได้​ ๗๑​พรรษา
​      บรรดาศิษยานุศิษย์​ทั้ง​บรรพชิ
ต​และ​คฤหัสถ์​ได้​ช่วย​กัน​สรงน้ำ​ศพหลวงพ่อ​ ​แล้ว​บรรจุศพ​ ​ตั้งบำ​เพ็ญกุศล​ ​ณ​ ​วัดหนองโพ​ ​ตั้งแต่วันรุ่งขึ้น​ ​เว้นที่​๒๓ ​พฤษภาคม) ​ติดต่อมาครบ​ ๗ ​วัน​ ​เมื่อวันที่​ ๒๙ ​พฤษภาคม​ ​แล้ว​ก็ทำ​ติดต่อมาอีก​และ​ทำ​บุญครบ​ ๕๐ ​วัน​ ​เมื่อวันที่​ ๑๑ ​กรกฎาคม​ ​ทำ​บุญครบ​ ๑๐๐ ​วัน​ ​เมื่อวันที่​ ๓๐ ​สิงหาคม​ ๒๔๙๔ ​จึง​เก็บศพหลวงพ่อรอ​ไว้​ ​จน​ถึง​เวลาจัดการพระราชทานเพลิงหลวงพ่อเดิม​ ​ผู้​ซึ่ง​ได้​รับการขนานนาม​
และ​ยกย่อง​เป็น​เทพเจ้า​แห่งเมืองสี่​แควซึ่ง​ชาวนครสวรรค์ทุกคน​ยัง​เคารพ​ให้​ความ​นับถือหลวงพ่อ​อยู่​เสมอ​ ​โดย​เฉพาะทางวัดหนองโพ​ได้​สร้างมณฑปที่ประดิษฐานรูปหล่อโลหะของหลวงพ่อพระรูปเหมือนหลวงพ่อเดิม​ ​ขนาด​เท่า​องค์จริง​ ​ซึ่ง​หลวงพ่อเดิมท่านหล่อสร้าง​ไว้​เมื่อปี​ ​พ​.​ศ​. ๒๔๘๒​ซึ่ง​ตั้งประดิษฐาน​อยู่​ที่มณฑป​ ​ซึ่ง​มีประชาชนมากราบนมัสการทุกวันมิ​ได้​ขาด​ ​และ​ทางวัดหนองโพ​ได้​จัดงานทำ​บุญประจำ​ปีปิดทอง​ ​ไหว้พระรูปเหมือนหลวงพ่อเดิม​ ​ใน​วันขึ้น​ ๑๓ ​ค่ำ​ ​เดือน​ ๓ ​ของทุกปี

         การเดินทางไปวัดหนองโพก็ไม่ได้ยากลำบากอะไรเลย จากถนนสายเอเชียเลยจากแยกตาคลี-ชัยนาท มาอีกไม่นานก็จะมาเจอแยกเข้าวัดหลวงพ่อเดิมทางขวามือจากปากทางถึงวัดหลวงพ่อก็ประมาณ 12 ก.ม. เส้นทางลาดยางแล้วครับ สะดวกมากๆ เลย

 



                
หลังจากอ่านประวัติของหลวงพ่อมากันแล้ว ก็มาว่ากันเรื่องเหรียญลายเถาวัลย์ หรือ เหรียญแมงกะบี้ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ รุ่นแรก ปี ๒๔๗๐ นับเป็นเหรียญยอดนิยม และเป็นเหรียญที่หาชมของจริงได้ยากยิ่งอีกเหรียญหนึ่งของวงการ เหรียญนี้ออกแบบได้สวยงาม

 

      จุดสังเกตุของเหรียญรุ่นนี้ที่ด้านหลังจะเป็นเสี้ยซึ่งเกิดธรรมชาติจากแม่พิมพ์ จึ่งเป็นจุดตายที่ยากต่อการปลอมแปลง ส่วนเหรียญที่ด้านหลังมียันต์ก็จะเป็นเหรียญที่ออในปี๒๔๘๒ ซึ่งใช้แม่พิมพ์ด้านหน้าเหรียญจะเหมื่อนเหรียญปี๒๔๗0 ครับ



           ในปี พ.ศ.2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานสมณศักดิ์ให้แก่เจ้าอธิการเดิม พุทธสโร วัดหนองโพ อำเภอพยุหะคีรี เป็นพระครูสามัญที่ "พระครูเดิม" ตามนิตยภัตพระครูสามัญเป็นเกียรติแก่ชาวบ้านหนองโพ เพื่อประกาศพระกิตติคุณในด้านการพระศาสนาและพัฒนาการ หลวงพ่อเดิมท่านไม่ขัดพระบรมราชโองการยอมรับสมณศักดิ์ แต่มิได้เดินทางไปรับที่เจ้าคณะจังหวัด ซึ่งดำเนินการแทนสมเด็จพระสังฆราช คงมีแต่ลูกศิษย์ลูกหาที่เป็นพระสงฆ์และฆราวาสร่วมกันไปรับแทนแล้วแห่แหนกันมาเป็นขบวนใหญ่มาที่วัดหนองโพ กล่าวกันว่าเมื่อได้พัดยศมาถึงวัดหนองโพนั้น หลวงพ่อมองดูแวบหนึ่งแล้วรับมาถือไว้พอเป็นพิธี แล้วจึงให้นำไปประดิษฐานไว้ยังที่อันสมควรและไม่เคยเห็นหลวงพ่อเดิมใช้พัดนั้นในงานพิธีใดๆ อีกต่อไปเลย ท่านปรารภกับศิษย์ใกล้ชิดว่า "พัดยศเป็นเพียงลาภทางเกียรติคุณ แต่ใจจริงของท่านนั้นไม่ต้องการ ด้วยที่ท่านได้ทำงานผ่านมาทั้งหมดนั้น เป็นเพียงเพื่อถวายแก่พระศาสนาและ ประชาชนให้ได้มีที่พึ่งพิงถาวรวัตถุไว้ประกอบการบุญต่างๆ เท่านั้น มิได้หวังในลาภยศและสรรเสริญแต่อย่างใดเลย ของนอกกายทั้งนั้น" 

                                    
                                    
                                                
                                                                                                  
          เหรียญทั้งสองแบบนี้นับได้ว่
าเป็นเหรียญปั๊มรุ่นแรกของหลวงพ่อเดิม สำหรับเหรียญรูปทรงเสมาปัจจุบันสนนราคาจะสูงกว่าเหรียญรูปลายเถาวัลย์เล็กน้อย ในปัจจุ บันนับว่าหาได้ยากยิ่ง ของปลอมเลียนแบบมีมากและทำได้ดีทีเดียวครับ จะเช่าหาต้องระมัด ระวังนะครับ!!!





...when you say nothing at all...
...Ronan Keating...
....ขอให้หลวงพ่อมาโปรดสมาชิกทุกๆท่านนะครับ....


 



เหรียญลายเถาวัลย์(เหรียญแมงกะบี้) หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ พ.ศ.๒๔๗0
เหรียญลายเถาวัลย์(เหรียญแมงกะบี้) หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ พ.ศ.๒๔๗0
เหรียญลายเถาวัลย์(เหรียญแมงกะบี้) หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ พ.ศ.๒๔๗0

โดย  chusak วันที่ 2012-09-29 22:59:22 
 
1.  

ส่งข้อความ
เยี่ยมครับ





โดย  เล็กบางกอก วันที่ 2012-10-06 09:15:20 
 
2.  

ส่งข้อความ





โดย  chusak วันที่ 2012-10-27 13:26:16 
 
3.  

ส่งข้อความ





โดย  chusak วันที่ 2012-10-27 13:27:14 
 
4.  

ส่งข้อความ





โดย  chusak วันที่ 2012-10-27 13:27:48 
 

Total 4 Record : 1 Page : 1