หน้าหลัก ---> กระดาน โชว์พระเครื่อง ---> ตะกรุดหลวงพ่อโม ตะกรุด7นิ้ว ตะกรุดมหาอุด

Total 0 Record : 1 Page : 1

หมอเมืองขอน ตะกรุดหลวงพ่อโม ตะกรุด7นิ้ว ตะกรุดมหาอุด

ส่งข้อความ

..............ตะกรุด 7 นิ้วหลวงพ่อโม มีคนตามเก็บกันมาก ประสบการณ์ไม่ต้องพูดถึง คนพื้นที่กล่าวกันไว้ว่า "ใช้ตะกรุดหลวงพ่อโมปืนยิงไม่ดัง" ดอกนี้ใช้มาโชกโชน นิมนต์ตรงจากห้วยกรด ตะกรุดยาว 7 นิ้ว ม้วน 5 รอบ ตัดมุม ถักด้วยเชือกว่าว ครบสูตร.........


'หลวงพ่อโม ธัมมรักขิโต'
อดีตเจ้าอาวาสวัดจันทนาราม ต.ห้วยกรด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เป็นอดีตเกจิเรืองนามรูปหนึ่งของชัยนาท

เกิดในสกุลคงเจริญ เมื่อปีมะเมีย ปี 2413 ณ บ้านบางยายอ้น ต.ห้วยกรด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท

ช่วง วัยเยาว์อาศัยอยู่กับญาติ และบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 8 ขวบ กระทั่งอายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดใหม่บำเพ็ญบุญ มีหลวงพ่อเถื่อน เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อพระสมุห์คง เป็นพระกรรมวาจาจารย์, หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง เจ้าคณะแขวงอำเภอบ้านเชี่ยน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ (บางท่านว่า พระอาจารย์นวม วัดกลาง เป็นพระอนุ สาวนาจารย์) ได้รับฉายา ธัมมรักขิโต

หลัง บวชแล้วศึกษาเล่าเรียนทั้งวิชาภาษาไทย บาลี และพระธรรมวินัย รวมทั้งภาษาขอม เรียนกัมมัฏฐานและวิชาอาคมจากหลวงพ่อเถื่อน หลวงพ่อคง และหลวงพ่อม่วง ซึ่งล้วนเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวบ้านห้วยกรดให้ความเคารพนับถืออย่างยิ่ง โดยอยู่จำพรรษาที่วัดใหม่บำเพ็ญบุญได้ประมาณ 10 พรรษา จากนั้นไปศึกษาวิชาอาคมเพิ่มเติมจากหลวงพ่อโต วัดวิหารทอง

ต่อมา หลวงพ่อคงพาไปฝากเป็นศิษย์พระครูวิมลคุณากร (หลวงปู่ศุข เกสโร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัด สิงห์ รับการถ่ายทอดสุดยอดวิชาอาคมแขนงต่างๆ ตำรายาสมุนไพรและแพทย์แผนโบราณอยู่นานถึง 5 ปี ระหว่าง ปี 2451-2456 ก่อนกลับมายังวัดใหม่บำเพ็ญบุญ และได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาสสืบแทนหลวงพ่อคงที่มรณภาพ

พ.ศ.2457 ญาติของท่านได้ซื้อที่ดินติดกับวัดร้างประมาณ 30 ไร่เศษ สร้างเป็นวัดขึ้นใหม่ ชื่อว่า วัดจันทนาราม ก่อนอาราธนานิมนต์ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก จากนั้นท่านได้ร่วมมือกับชาวบ้านพัฒนาวัดจนเจริญขึ้นโดยลำดับ

ด้วย เหตุที่บริเวณวัดส่วนหนึ่งมีเนินอิฐปรักหักพัง มีพระพุทธรูปหินชำรุดอยู่องค์หนึ่ง ท่านจึงชักชวนชาวบ้านร่วมกันปฏิสังขรณ์ โดยนำเศียรพระ พุทธรูป ศิลปะอู่ทอง หรืออยุธยายุคต้น ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกันนำมาต่อเข้ากับพระองค์ดังกล่าว และเรียกชื่อตามเนื้อวัตถุที่สร้างว่า "หลวงพ่อหิน" ซึ่งถือว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บารมีของหลวงพ่อโม ที่มีความศักดิ์สิทธิ์

ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหารคู่กับรูปหล่อหลวงพ่อโม

ยาม ว่างจากงานพัฒนาวัด ท่านก็มักเดินทางไปแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาอาคมกับสหธรรมิกหลายๆ องค์ เช่น หลวงพ่อปลื้ม วัดสังฆาราม อ.สรรคบุรี หนึ่งในเกจิอาจารย์ดังแห่งเมืองสรรคบุรีที่วงการพระเครื่องรู้จักกันเป็น อย่างดี

หลวงพ่อโมเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย สงบสำรวม ถ่อมตน ไม่อวดอ้างและพูดน้อย มีเมตตาธรรม ใครเดือดร้อนหรือมีปัญหาอะไรก็จะอนุเคราะห์ตามสมควรแก่เหตุโดยไม่เลือกชั้น วรรณะ

สำหรับวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมที่สุดของหลวงพ่อโมคือ ตะกรุดโทน มีทั้งเนื้อทองเหลืองฝาบาตร ทองเหลืองและทอง แดง ในยุคแรกยังหาแผ่นโลหะได้ยาก ท่านจึงไปขอฝาบาตรพระตามวัดต่างๆ มาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วจารยันต์ในตาราง ด้วยเหตุที่ใช้ฝาบาตรทำจึงเรียกว่า "ตะกรุดฝาบาตร"

นอกจากตะกรุด ยังมีวัตถุมงคลเครื่อง รางของขลังอื่นๆ อาทิ สิงห์งาแกะ เหรียญรูปเหมือน รูปหล่อขนาดเล็ก รูปถ่าย พัด และสีผึ้ง เป็นต้น วัตถุมงคลของหลวงพ่อโมมีประสบการณ์มากมาย

ท่านไม่เคยอาพาธถึงขั้น ล้มหมอนนอนเสื่อ เพราะมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี แต่กระนั้นท่านก็ไม่พ้นหลักอนิจจังตามธรรมะแห่งพระพุทธองค์ โดยถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2502

ภายหลัง การมรณภาพของหลวงพ่อโม มีเรื่องน่าอัศจรรย์เกี่ยวกับสรีระหลวงพ่อประการหนึ่งคือ ร่างของท่านไม่เน่าเปื่อย ไม่มีกลิ่นเหม็น ทั้งที่สมัยนั้นยังไม่มีการฉีดยากันศพเน่า คณะศิษย์นำศพใส่โลงไม้ธรรมดาและตั้งไว้บำเพ็ญกุศลนานเกือบปี

กระทั่งเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2503 ได้จัดพิธีฌาปนกิจศพอย่างสมเกียรติ
ตะกรุดหลวงพ่อโม ตะกรุด7นิ้ว ตะกรุดมหาอุด
ตะกรุดหลวงพ่อโม ตะกรุด7นิ้ว ตะกรุดมหาอุด


โดย  หมอเมืองขอน วันที่ 2013-08-24 08:05:18 
 

Total 0 Record : 1 Page : 1