หน้าหลัก ---> กระดานห้องศึกษาพระเครื่อง ---> พระกริ่งประทานพร วัดชัยมงคล

Total 1 Record : 1 Page : 1

พระกริ่งประทานพร วัดชัยมงคล

ส่งข้อความ


พระกริ่งประทานพร วัดชัยมงคล
พระกริ่งประทานพร วัดชัยมงคล
พระกริ่งประทานพร วัดชัยมงคล

โดย  wabmaster วันที่  
 
1.  

ส่งข้อความ

ลักษณะทั่วไปของพระกริ่ง หลวงพ่อเขียน
ด้านหน้า ศรีษะมีพระเกศาขดเป็นก้นหอย ใบหน้าเอิบอิ่มมีเมตตา เปลือกตาบนประหนึ่งดั่งท่านหลับตาและแย้มริมฝีปากยิ้มเล็กน้อย ขอบตาล่างคมกริบ หัวคิ้วจรดกันทั้งสองข้างเชื่อมลงมาที่จมูกเป็นสันคม ด้านบนมีอุนาโลมหรือจุด อยู่ระหว่างกลางเหนือคิ้วทั้งสองข้าง ลักษณะมือสองข้างประสานกันที่อก นิ้วกรีดกรายเด่นชัด เสมือนดั่งท่านกำลังดีดน้ำพระพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ มีปลายจีวรพับเป็นชั้น ๆ พาดหัวไหล่ด้านซ้ายลงมาจรดที่ปลายนิ้วมือข้างซ้าย ด้านล่างมีขาขวาทับขาซ้าย ขาสองข้างทับปลายจีวรเป็นจีบ ๆ ที่ฐานมีบัวคว่ำและบัวหงายรอบฐานด้านหน้า
ด้านหลัง มีเส้นริ้วจีวรพับเป็นสองชั้นพาดจากไหล่ซ้ายลงไปฐาน และรัดจากรักแร้ขวาไปจรดเส้นริ้วจีวรเส้นกลาง พิมพ์นี้มีจุดที่กลางหลังทุกองค์ จุดนี้เป็นจุดเด่นที่ใช้แยกพระกริ่ง วัดวังกระโจมของเจ้าคุณนร ฯ กับพระกริ่งหลวงพ่อเขียนครับ บางองค์จุดนี้ก็ถูกตะไบออกนะครับ ถ้าไม่มีจุดนี้ให้พิจารณาส่วนอื่น ๆ แทน ที่ฐานล่างมีเลข ๙ บางองค์ชัด บางองค์ไม่ชัด
ใต้ฐาน มีช่อชนวน 2 ช่อ ในช่ออาจจะมีรูบ้างไม่มีบ้าง แล้วแต่ว่าจะหล่อเต็มหรือไม่ บางองค์มีเส้นวิ่งที่ใต้ฐาน ประมาณกึ่งกลางระหว่างช่อชนวน เกิดจากเนื้อเทียนเกินตอนประกบบล็อกหน้าและบล๊อกหลัง บางองค์อุดกริ่งด้วย แต่มีน้อยมาก ๆ (พิมพ์นี้อุดกริ่ง ผมเคยเห็นแค่ 2 องค์) ถ้าพบพระกริ่งพิมพ์ประทานพรแบบนี้และอุดกริ่งระวังจะสับสนกับพระกริ่ง วัดวังกระโจม จ.นครนายก ปี 2513 อธิฐานจิตโดยเจ้าคุณนร ฯ ซึ่งองค์ขนาดเล็กกว่าพระกริ่งหลวงพ่อเขียน ตากลม เนื้อหาสีออกเหลืองแดง ไม่มีจุดที่กลางหลัง

ลักษณะการแต่งตะไบ
นายช่างใช้ตะไบละเอียด เบอร์เดียวกับตะไบที่ใช้แต่งรูปหล่อพิมพ์ฐานหนังสือ ตกแต่งที่ใต้ฐานและตามตัว
คราบเบ้า
คราบเบ้าของพระกริ่ง มีทั้งคราบเบ้าดำ และคราบเบ้าดิน บางองค์ก็มีทั้งสองอย่าง แล้วแต่ธรรมชาติจะรังสรรค์
ลักษณะเนื้อหา ผิว และกระแสพระ
พระพิมพ์นี้เท่าที่ผมเคยเห็นมีเนื้อหามี 2 ลักษณะ
1.
ผิวหล่อช่อแรก ๆ เนื้อหาจะออกเหลืองอมเขียว หรือผิวเหลืองปนคราบดำจากขี้เบ้า
ลงพิจารณาพระของผมและคุณดำรงค์
2.
ผิวทราย เนื้อหาแบบนี้หล่อช่อท้าย ๆ ซึ่งอุณหภูมิของโลหะ เริ่มเย็นตัวลง ผิวจะคล้ายเม็ดทรายเรียงตัวกัน
การนำเสนอข้อมูลครั้งนี้เป็นการนำเอาประสบการณ์ส่วนตัวของผมเอง เล่าให้สมาชิกได้ทราบ อาจจะไม่ตรงกับอาจารย์บางท่านก็ขออภัยนะครับ ข้อมูลประวัติอาจจะคลาดเคลื่อนก็ขออภัยครับ เช่นกัน จุดประสงค์เพียงแค่อยากนำเสนอพระกริ่งหลวงพ่อเขียนแท้ๆ ว่ามีกี่ลักษณะเท่านั้นนะครับ ทั้งนี้ พระอาจจะมีลักษณะแตกต่างมากกว่าที่ผมนำเสนอก็ได้ หากผมพบก็จะนำมาเสนออีกครั้ง
อนึ่ง สมาชิกกรุณาอย่าฟันธงว่าพระที่ไม่มีตำหนิหรือผิวพรรณตามที่บอกเก๊นะครับ เพราะตำหนิของพระหล่อโบราณจะมีอยู่หรือหายไปนั้น ล้วนขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยหลายประการ นับตั้งแต่การปั้นหุ่นเทียน การหล่อ การแต่งองค์พระ การใช้พระคล่องหรือพกติดตัว การเก็บรักษา การล้าง ฯลฯ ดังนั้น การจะพิจารณาพระแท้หรือพระเก๊ได้นั้น ต้องอาศัยประสบการณ์และความรู้เรื่องพระหล่อโบราณมาใช้หลักประกอบการพิจารณาครับ





โดย  wabmaster วันที่ 2011-07-16 23:33:06 
 

Total 1 Record : 1 Page : 1