หน้าหลัก ---> กระดานห้องศึกษาพระเครื่อง ---> รูปหล่อโบราณหลวงพ่อเขียน พิมพ์หน้าหมู หน้าเล็กหรือหน้าแตก(วัดวังตะกู)

Total 1 Record : 1 Page : 1

รูปหล่อโบราณหลวงพ่อเขียน พิมพ์หน้าหมู หน้าเล็กหรือหน้าแตก(วัดวังตะกู)

ส่งข้อความ


รูปหล่อโบราณหลวงพ่อเขียน พิมพ์หน้าหมู หน้าเล็กหรือหน้าแตก(วัดวังตะกู)
รูปหล่อโบราณหลวงพ่อเขียน พิมพ์หน้าหมู หน้าเล็กหรือหน้าแตก(วัดวังตะกู)
รูปหล่อโบราณหลวงพ่อเขียน พิมพ์หน้าหมู หน้าเล็กหรือหน้าแตก(วัดวังตะกู)

โดย  wabmaster วันที่  
 
1.  

ส่งข้อความ
หลวงพ่อเขียน พิมพ์หน้าหมู หน้าแตกหรือหน้าเล็ก ข้อสังเกตุความแตกต่างระหว่าง พระรูปหล่อ พิมพ์หน้าหมู หน้าแตกหรือหน้าเล็ก กับ รูปหล่อพิมพ์หน้าหมู หน้าใหญ่ สองพิมพ์นี้สร้างคนละวาระกันครับ พิมพ์ใกล้เคียงกัน แต่เนื้อหาและงานช่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง สังเกตุอย่างนี้ครับ
พิมพ์หน้าหมู หน้าเล็กหรือหน้าแตก จะสร้างก่อนพิมพ์หน้าหมู หน้าใหญ่ ประมาณ ปี 2499 กระแสโลหะเหลืองอมน้ำตาลเข้ม บางองค์ออกแดงมันเทศ ในงานพุทธาภิเษกมีฝนตกในวัดแต่บริเวณรอบ ๆ วัดกลับไม่มีฝนตก กรรมการนิมนต์หลวงพ่อเขียนเข้าไปในโบสถ์ แต่หลวงพ่อเขียนไม่ไป และกล่าวว่าฝนตกไม่นานเดี๋ยวก็หยุด ฝนตกอยู่เพียง 5 นาทีก็หยุดจริง ๆ ตามคำกล่าวของหลวงพ่อเขียน ในงานมีอีกหลายพิมพ์ที่พุทธาภิเษกพร้อมกัน และมีพระเกจิอีกหลายท่านร่วมอธิฐานจิต แต่ผมขออนุญาตไม่กล่าวถึงครับ
1.หน้าหลวงพ่อจะมีเส้นแตกนูน กลางหน้า ซึ่งเกิดจากร่องแตกของบล็อกแม่พิมพ์ เส้นแตกเส้นนี้ยาวผ่านใต้คาง สังฆาฏิลงมาจนถึงมือและฐาน
2.ใต้ฐานช่างจะตัดก้านช่อชนวนห่างจากฐาน ใต้ฐานจึงเหลือก้านช่อชนวนขนาดใหญ่
3.รอบก้านช่อชนวน มีร่องรอยการยุบตัวของโลหะรอบ ๆ ก้านช่อชนวน เมื่อโลหะเย็นตัวลง
4.ช่างบางคนเก็บงานละเอียด ช่างจะแต่งรอยตัดก้านช่อ ด้วยตะไบชนิดหยาบ แทงแล้วยกจึงเห็นเป็นร่องตะไบสั้น ๆ บางท่านไม่ค่อยปราณีมากนักก็จะทิ้งรอยตัดก้านช่อชนวนเอาดื้อ ๆ แลดูคลาสสิคไปอีกแบบ
หมายเหตุ พิมพ์นี้บางองค์ถูกแต่งหน้าเพื่อลบเส้นแตกมาจากวัด หรืออาจจะใช้จนหน้าสึก จึงมองไม่เห็นเส้นแตกที่หน้า แต่ยังคงมีเส้นแตกให้เห็นที่ใต้คาง สังฆาฏิลงมาจนถึงมือและฐานครับ พิจารณาพระของผมทั้งสององค์ (องค์ที่สองปล่อยไปแล้วขออนุญาตเจ้าของพระด้วยนะครับ)

พิมพ์หน้าหมู หน้าใหญ่ สร้างประมาณ ปี 2503 ที่วัดท่าหอย (ออกจำหน่าย 2504) ออกพร้อมกับเหรียญท่าหอย แหวน ฯลฯ กระแสโลหะออกเหลือง บางองค์ผิวคลุมเงิน บางองค์มีผิวไฟ ข้อสังเกตุ
1.หน้าตา จมูก ปาก หลวงพ่อติดชัด ตาทั้งสองข้างและปากเป็นหลุมลึก ตาทั้งสองข้างสูงต่ำไม่เท่ากัน มีเส้นคิ้วนูน จมูกโด่ง
2.ด้านหน้าบริเวณช่วงตัวมักจะหล่อไม่ชัด บางองค์ก็ชัดนะครับ
3.การตัดช่อ นายช่างมักจะตัดช่อชิดฐานครับ และใช้ตะไบแต่งรอยตัดก้านช่อชนวน (บางองค์มีช่อชนวนเหลืออยู่แต่ช่อชนวนจะมีขนาดเล็กกว่าพิมพ์หน้าเล็กหรือหน้าแตก)
4.ข้างสังฆาฏิด้านหลังฝั่งซ้ายมีเส้นร่อง ขนานกับสังฆาฏิ






โดย  wabmaster วันที่ 2011-07-17 00:15:51 
 

Total 1 Record : 1 Page : 1